top of page

เชือกคาดเอว

เชือกคาดเอวนี้ หลวงปู่หล่ำได้เรียนจากหลวงพ่อเผย วัดบางหญ้าแพรก และได้เพิ่มเติมยันต์ คาถา ที่ได้ร่ำเรียนมาจากครูบาอาจารย์ต่างๆ มาใส่ไว้ในยันต์ ท่านเริ่มถักเชือกคาดยุคแรกเมื่อราวปี ๒๔๙๙ ถักเพื่อให้พระสงฆ์ที่ติดตามในการเดินธุดงค์ และถักมาเรื่อยๆ ท่านจะใช้ผ้าคลุมศพ หรือผ้าห่อศพ มาลงอักขระเลขยันต์ ผ้านี้ต้องใช้วิธีไปพลีเอามา แล้วนำมาล้างอาถรรพ์ อันเป็นเคล็ดวิชาตามครูบาอาจารย์ที่สืบต่อกันมา ในการลงจะลงตามฤกษ์ แต่ละยันต์ แต่ละคาถา ขั้นตอนตั้งแต่เริ่ม จนถึงทารัก ปิดทอง ครั้งละ ๑๐-๒๐ เส้น จะใช้เวลาประมาณ ๓ เดือน แต่ไม่เสมอไป บางยุคจะนำผ้ามาฉีกแล้วควั่นเป็นเส้นเพื่อถัก แต่จะขาดง่าย จึงใช้ผ้ายันต์เป็นแกนกลาง โดยมีตะกรุด ๒ ดอกข้างปลาย บางยุคถักทับตะกรุด มาในยุคหลัง ใช้เชือกร่มแทน และเปลี่ยนจากน้ำรักมาเป็นเฟล็กซ์สีดำแทน เพราะบางคนแพ้น้ำรัก จนมาถึงปี ๒๕๕๐ หลวงปู่หล่ำได้หยุดสร้าง ปิดตำนานเชือกคาดเอว และได้ถ่ายทอดให้พระมหาวิบูลย์ทำแทน

เชือกคาดเอวและเชือกข้อมือ

ตะกรุดใต้น้ำ

วิชาทำตะกรุดใต้น้ำนี้ หลวงปู่หล่ำได้ร่ำเรียนมาจากอาจารย์พาน นนท์ตา ซึ่งอาจารย์พานได้สืบสายมาจากหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งอาจารย์พานไม่ได้เรียนเฉพาะวิชาทำตะกรุดใต้น้ำเท่านั้น ท่านเรียนมาอีกหลายวิชา ในสมัยที่อาจารย์พานบวชเป็นพระ ท่านไปหาเรียนวิชาตามครูบาอาจารย์ต่างๆ มากมาย เมื่อหลวงปู่หล่ำได้เดินทางไปขอเรียนวิชานั้น วิชาการทำตะกรุดใต้น้ำเป็นหนึ่งในวิชาที่ท่านได้ถ่ายทอดให้ด้วย
ในการทำตะกรุดในยุคนั้น ได้ที่เหมาะในการทำคือ ที่น้ำตกพลิ้วบ้าง น้ำตกที่ปราจีนบ้าง ตอนหลังมาทำที่คลองใหญ่ใกล้เขาชะโงก ยุคแรกๆ สร้างราวปี ๒๕๑๐
ตะกรุดใต้น้ำ ใช้ในทางป้องกันตัว แคล้วคลาด คงกระพัน ที่ทำในตอนนั้นทำให้ลูกศิษย์ไปออกรบและไปช่วยชาติ  ในยุคนั้นท่านจะใช้แผ่นทองแดงบ้าง แผ่นเงินบ้าง ขนาดประมาณ ๑ ครึ่ง, ๒ นิ้ว, ๒ นิ้วครึ่ง ทั้งแบบแผ่นเดียวบ้าง ๓ แผ่นบ้าง แต่ไม่ได้ทำสัญลักษณ์อะไรไว้ให้รู้ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินได้ว่า เป็นตะกรุดใต้น้ำ

ภาพนี้ถ่ายหลังจากทำพิธีดำน้ำจารตะกรุด บริเวณเขาชะโงก คลองยายดำ ราวปี ๒๕๓๐–๒๕๓๔  เป็นครั้งหลังๆ ที่ท่านทำ

ราวปี ๒๕๔๘ ลูกศิษย์ได้มาขอให้ท่านทำ ด้วยความเมตตาท่านจึงอนุญาตให้ทำ แต่ด้วยปัญหาสุขภาพจึงได้ตกลงกันที่จะใช้วิธีจารแล้วใส่ตะกรุดลงในอ่างน้ำมนต์ แล้วเสกอีกครั้ง (*ตะกรุดใต้น้ำรุ่นนี้มีเพียงพานนี้เท่านั้น ต่อมาภายหลังมีผู้สร้างมาถวายพร้อมจารและตอกโค๊ตมาด้วยอีกหลายพันดอก พร้อมปั๊มว่า ใต้น้ำ*)

ตะกรุดใต้น้ำ ยุคต่างๆ

ตะกรุดใต้น้ำ ยุคต้น ท่านดำน้ำจาร ในแต่ละครั้งได้จำนวนไม่มาก

ตะกรุดใต้น้ำ (ลูกศิษย์ดำน้ำจาร หลวงปู่หล่ำเสก) ปี ๒๕๕๘ แผ่นเงิน กดโค๊ต ขนาด ๒ นิ้วครึ่ง

ตะกรุดใต้น้ำ (ลูกศิษย์ดำน้ำจาร หลวงปู่หล่ำเสก) ปี ๒๕๕๙ แผ่นเงิน กดโค๊ต ขนาด ๑ นิ้วครึ่ง

ตะกรุดใต้น้ำ (ลูกศิษย์ดำน้ำจาร หลวงปู่หล่ำเสก) ปี ๒๕๖๑ แผ่นทองแดง กดโค๊ต ขนาด ๒ นิ้วครึ่ง

ตะกรุดใต้น้ำ (ลูกศิษย์ดำน้ำจาร หลวงปู่หล่ำเสก) ปี ๒๕๖๑ แผ่น ๓ กษัตริย์ กดโค๊ต ขนาด ๒ นิ้วครึ่ง

ตะกรุด ๓ กษัตริย์

ตะกรุด ๓ กษัตริย์ เป็นวิชาหนึ่งที่มีคุณ ๓ ด้าน คือ เมตตา แคล้วคลาด ป้องกัน โดยแผ่นตะกรุดแต่ละดอกจะลงยันต์แตกต่างกัน หลวงปู่หล่ำสร้างมอบให้ลูกศิษย์หลายครั้ง แต่ไม่เป็นทางการ จนมาถึงปี ๒๕๔๘ ได้สร้างให้สั่งจองเป็นรุ่นแรก

ตะกรุด ๓ กษัตริย์ รุ่นแรก ๒๕๔๘ ดำสร้าง ๔๐๐ ดอก แดงสร้าง ๑๐๐ ดอก

ตะกรุด ๓ กษัตริย์ รุ่นสอง ๒๕๔๙ สร้าง ๓๕๐ ดอก

ตะกรุด ๓ กษัตริย์ (ลูกศิษย์จาร) รุ่นต่างๆ

ตะกรุด หนังเสือ

ตามที่ได้กล่าวไปในเรื่องเสืออาคม ลูกศิษย์หลวงปู่หล่ำ มักจะนำเขี้ยวก็ดี หนังก็อีก มาให้หลวงปู่ลงให้ เด่นในทางมหาอำนาจ ในยุคที่ยังไม่มีกฎห้ามตามวัดต่างๆ ก็จะมีการสร้างเครื่องรางที่เกี่ยวกับเสือให้เห็น จนมายุคหลัง ท่านได้สร้างเป็นเนื้อไม้บ้าง โลหะบ้าง

ตะกรุดหนังเสือ “ฉลองอายุ ๘๑” ปี ๒๕๕๓ สร้าง ๑๐๐ ดอก

ตะกรุดหนังเสือไฟ “เสาร์ห้า ๕๓” ปี ๒๕๕๓ สร้าง ๑๕๐ ดอก

หนังเสือ “เสาร์ห้า ๕๓” ปี ๒๕๕๓ สร้าง ๑๓๐ ชิ้น

ตะกรุดหนังเสือ “เสาร์ห้า ๕๗” ปี ๒๕๕๗ สร้าง ๑๐๐ ดอก

ตะกรุด พญาราชสีห์ “เสาร์ห้า ๕๗” ปี ๒๕๕๗ สร้าง ๑๐๐ ดอก

ตะกรุด รุ่นต่างๆ

หลวงปู่หล่ำได้สร้างเครื่องรางและตะกรุดตามวิชาที่ร่ำเรียนมาหลายอย่าง ตามแต่จะใช้ไปในทางด้านไหน แต่ที่ลูกศิษย์มักให้ทำบ่อยๆคือ แบบเล็กๆ พกพาได้สะดวก เช่น ตะกรุดหันตวา ตะกรุดนะอกแตก ตะกรุดพระเจ้าเปล่งรัศมี ตะกรุดมหานิยม ฯลฯ

นอกจากตะกรุดแล้ว ท่านยังสร้างเครื่องรางไว้ปราบสิ่งไม่ดีต่าง นั่นคือ กระบอง หรือดาบ หรือกระบอง ท้าวเวสสุวรรณ  หลวงปู่หล่ำลงอักขระเลขยันต์ ยุคต้น วัดบางหญ้าแพรก

ตะกรุดลูกปืน แผ่นยันต์ทองแดงด้านใน หลวงปู่หล่ำจาร ปี ๒๕๕๐ สร้าง ๑๕๐

ตะกรุดนะปถมัง กันปืน หลวงปู่หล่ำได้จารเมื่อราวปี ๒๕๕๗

ตะกรุดลูกสะกด ตะกั่วอวน

ตะกรุดนะอกแตก ตอกโค๊ต รันเลข อุดผง

ตะกรุดไผ่ตัน

ตะกรุดพระเจ้าเปล่งรัศมี

ตะกรุดมหานิยม

ตะกรุดอังคาร ๙ เนื้อเงิน

ตะกรุดสาย ๙ ดอก

ตะกรุด พระเจ้า ๑๖ พระองค์

ตะกรุดพระเจ้า ๑๖ พระองค์ แต่ละครูบาอาจารย์แต่ละท่านก็แตกต่างกันไป หลวงปู่หล่ำในยุคแรกๆ ท่านจะทำใส่ผ้าเช็ดหน้าบ้าง จารลงแผ่นทองแดงบ้าง ตะกั่วบ้าง จนมาถึงปี ๒๕๖๑ ต้องการนำเงินไปช่วยสร้างตึกสงฆ์อาพาธ ที่โรงพยาบาลหนองหงส์ ปลุกเสก “ไตรมาส ๖๑” สร้าง ๑๐๙ ดอก

bottom of page