พระสมเด็จ
การสร้างพระเครื่องไว้ เพื่อสืบทอดพระพุทธ ศาสนานั้น ได้มีมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ต่อมาท่านโบราณจารย์ผู้เชี่ยวชาญฉลาดได้ประดิษฐ์คิดสร้างพระเครื่อง ด้วยรูปแบบต่างๆนานา ตามแต่จะเห็นสมควรในยุคนั้นๆ ดังนั้น จะเห็นได้ว่ามีพระเครื่องมากมาย ที่ชาวพุทธได้สร้างสืบต่อกันมาทุกยุคทุกสมัย และในบรรดาพระเครื่องที่เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ่า เขายกย่องให้พระสมเด็จ วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งโดยการสร้างของพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี ) เป็นยอดแห่งพระเครื่อง และได้รับสมญานามว่าเป็น ราชาแห่งพระเครื่อง ที่ได้รับการยกย่องเช่นนั้น ก็เพราะด้วยรูปแบบของ พระสมเด็จ เป็นพระเครื่ององค์แรกซึ่งสร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอย่างทรงเลขาคณิต ต่างไปจากยุคก่อนที่จะเป็นลักษณะทรงสามเหลี่ยม ทรงหัวมน และฐานก็ยังได้จำลองแบบ ลักษณะพระประธานในโบสถ์
หลวงปู่หล่ำ ได้สร้างพระสมเด็จไว้บ้างเมื่อครั้งอยู่วัดบางหญ้าแพรก มีทั้งผงใบลาน ผงน้ำมัน เนื้อผงน้ำมันเป็นการผสมผงลบกระดานเนื้อจึงออกมาสีขาว ในยุคนั้นไม่ได้มีโค๊ตหรือตราสัญลักษณ์ในการบ่งบอกว่าใครเป็นเจ้าของรู้กันแต่ในหมู่ลูกศิษย์ที่ได้รับการแจกไปและบอกลูกบอกหลานสืบต่อกันมา เมื่อมาอยู่วัดสามัคคีธรรมก็ได้สร้างพระสมเด็จไว้แจกญาติโยมบ้างในวาระต่างๆ มีทั้งเนื้อผงน้ำมัน เนื้อดินเผาจุ่มรัก เนื้อชานหมาก และเนื้อดินเผา

สมเด็จผงน้ำมัน ราวปี ๒๕๐๘

พระเชตุพล เนื้อผงคลุกรัก ปี ๐๘ (รุ่นเดียวกับพระปิดตา ปี ๐๘)




สมเด็จพิมพ์พระประธานโบสถ์ ราวปี ๒๕๑๘






สมเด็จเนื้อผง ข้างยันต์ อุ


สมเด็จเนื้อผง จุ่มแชล็ค ปี ๒๕๓๘






สมเด็จเนื้อผง หลังปั๊มยันต์


สมเด็จพิมพ์ประภามณฑล เนื้อดินเผา ปี ๒๕๓๘ สร้าง ๑,๐๐๐ องค์



สมเด็จผสมชานหมาก แจกกฐิน ปี ๒๕๔๗ สร้าง ๑,๐๐๐ องค์


สมเด็จพิมพ์ประภามณฑล ผสมแร่




สมเด็จผงน้ำมัน หลังยันต์ตรีนิสิงเห รุ่นนี้กดบล็อกโดยด้านหลัง มีทั้งแบบมียันต์และไม่มียันต์ บางองค์มีตะกรุดสามดอก สองดอก หนึ่งดอก และไม่มีตะกรุด และปิดทองและไม่ปิดทอง สร้างราวปี ๒๕๔๙




สมเด็จปรกโพธิ์ เนื้อดินเผา และเนื้อผสมแร่ แจกงานกฐิน สร้าง ๑,๐๐๐ องค์


สมเด็จชานหมากปิดทอง บล็อกนี้จะอยู่กับหลวงพ่อ เมื่อท่านฉันหมากแล้ว ท่านจะกดบล็อกนี้ แล้วตากให้แห้ง นำมาจุ่มรัก และปิดทอง