top of page

เชือกคาดเอว

วิชาสร้างเชือกคาดเอว เป็นวิชาแรกที่พระมหาวิบูลย์ได้เรียนกับหลวงปู่หล่ำ โดยสืบสายวิชามาจากหลวงพ่อเผย วัดบางหญ้าแพรก และอาจารย์พาน นนท์ตา หลวงปู่หล่ำเริ่มสร้างเชือกคาดเอวในราวปี 2499 สร้างเรื่อยมาจนถึงปี 2550 ได้ถ่ายทอดให้พระมหาวิบูลย์ โดยในตอนนั้นสร้างแล้วนำไปให้หลวงปู่หล่ำปลุกเสก จนมาถึงปี 2561 สิ้นบุญหลวงปู่หล่ำ ถัดจากนั้นอีกราว 1 ปีก็เริ่มสร้างเชือกคาดเอว และเชือกข้อมือ ซึ่งมีส่วนที่เป็นใส้ใน และตะกรุด 2 ดอก ส่วนหัวมีผงมวลสารปั้นบรรจุอยู่ด้านใน การสร้างเริ่มจากพลีผ้าคลุมศพมาชำระแล้วลงยันต์ และลงตะกรุดตามวันเวลาที่กำหนดไว้ เมื่อได้ผ้าเขียนยันต์และแผ่นทองแดงทองเหลืองจารยันต์เสร็จแล้ว นำเชือกมาถักประกอบรวมกัน ถักเสร็จจึงหาฤกษ์ปลุกเสก

ไส้เชือกข้อมือ

เชือกข้อมือ

messageImage_1735267620978_0_edited.jpg

เชือกข้อมือ และ เชือกคาดเอว

ตะกรุด ๙ ดอก

ตะกรุด ๙ ดอก เป็นตะกรุดที่มียันต์ ประกอบด้วยยันต์ ๙ ยันต์ ที่ทำเป็นคู่ ทั้ง ๔ คู่ และ 1 ดอก เป็นดอกโทน รวมเป็น ๙ ดอก ตะกรุดแต่ละคู่ ยันต์จะสอดรับกัน หลังเสร็จขั้นตอนการจารและเสกเรียบร้อยแล้ว นำตะกรุดทั้งหมดมาใส่สายเพื่อคาดเอว ซึ่งโดยปกติ ยันต์ทั้ง 9 นี้ จะลงที่ตัว เพื่อลงน้ำมันทั้ง 9 จุด

ตะกรุดใต้น้ำ

ตะกรุดใต้น้ำ เป็นอีกหนึ่งวิชาที่ถือว่าทำได้ยาก โดยสืบสายวิชามาจากอาจารย์พาน นนท์ตา โดยวิชาสายนี้ จะทำแค่ช่วงเดือน ๑๒ และทำได้แค่ครั้งเดียว โดยสร้างทั้งเนื้อเงิน เนื้อทองแดง เนื้อดีบุก เนื้อสามกษัตริย์ ในยุคของหลวงปู่หล่ำนั้น ท่านสร้างไว้หลายวาระ แต่ไม่ได้ทำโค๊ตหรือทำสัญลักษณ์ไว้แต่อย่างใด การเล่นหาจึงวิเคราะห์ได้ยาก จนมาถึงยุคของพระมหาวิบูลย์ ท่านได้สร้างไว้เมื่อปี ๒๕๕๘ ปี ๒๕๕๙ ปี ๒๕๖๐ และปี ๒๕๖๑ โดยนำมาให้หลวงปู่หล่ำปลุกเสก ภายหลังได้สร้างเอง เสกเอง ในปีต่อ ๆ มา

ตะกรุด ขุนแผนห้ามทัพ

ตะกรุดขุนแผนห้ามทัพ เป็นตะกรุดที่ลงคาถาในด้านแคล้วคลาด ป้องกันอันตราย ด้านข้าง อุดผง สร้างจากเนื้อดีบุก ออกงานไหว้ครู เมื่อปี 2563

เบี้ยแก้

วิชาเบี้ยแก้ เป็นวิชาที่ใช้ในการป้องกัน โดยใช้ของทนสิทธิ์มาเป็นส่วนประกอบ และส่วนประกอบที่สำคัญ คือเบี้ยฟันครบ 32 ปรอท ชันโรงหลวง ขี้ผึ้งปิดปาก, ปิดตาผี ว่านโพลงกินผี และมวลสารใช้ในทางป้องกันภูตผีปีศาจ กันการกระทำ เตือนภัย ฯลฯ

bottom of page