top of page

เสืออาคม

คติความเชื่อเรื่องเสือ “เสือ” เป็นสัญลักษณ์ของอำนาจราชศักดิ์ สำแดงฤทธิ์ทำให้เป็นที่ครั่นคร้ามเกรงกลัว เป็นที่นับถือแก่ปวงชนและสัตว์ทั้งหลาย ผู้ใดเกิดปีขาลหรือปีเสือ โบราณจารย์ท่านมักจะทำนายทายทักว่า "ผู้นั้นเป็นคนจิตใจห้าวหาญ มีอำนาจ มีความเป็นผู้นำ" อวัยวะต่างๆ ของเสือมักถูกนำมาสร้างเครื่องรางได้แทบจะทั้งตัว โดยเชื่อว่าใครที่มีตบะหรืออำนาจของเสือไว้ครอบครอง พกพาหรือใช้เครื่องรางประเภทเสือ ไม่ว่าจะเป็นเขี้ยว, หนัง หรือลายสักยันต์รูปเสือ จะมีคุณเด่นด้านแคล้วคลาด มีอำนาจ คงกระพันชาตรี ลูกศิษย์หลวงปู่หล่ำ มักนำชิ้นส่วนเสือมาให้ท่านช่วยลง ท่านจะเมตตาลงให้เพราะไม่อยากให้เสียความตั้งใจ แต่จะพูดทิ้งท้ายเสมอว่า มันเป็นการไปเบียดเบียนเขา ให้ใช้อย่างอื่น เช่น โลหะ ไม้มงคลหรือผงมวลสาร หลวงปู่หล่ำได้รับการถ่ายทอดวิชาเสือ มาจากหลวงพ่อหลิม (ก๋งหลิม) วัดน้อย ชลบุรี           หลวงปู่หล่ำสร้างเสืออาคมหลายครั้งแต่ไม่เป็นทางการ จะสังเกตได้แค่รอยจารที่เป็นเอกลักษณ์ จนมาถึงปี ๒๕๕๓ จึงได้สร้างอย่างเป็นทางการ

เสืออาคมโลหะ ขนาด ๙ นิ้ว สร้าง ๑๐๐ ตัว ปี ๒๕๕๓ พิธีอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓ ปีขาล

เสืออาคมโลหะ ขนาด ๓ นิ้ว สร้าง ๒,๐๐๐ ตัว ปี ๒๕๕๓ ได้นำชนวนโลหะมาหลอม ได้นำเข้าพิธีปลุกเสก ในฤกษ์ วันอังคาร ขึ้น ๓ ค่ำ เดือนสาม ปีขาล

เสืออาคมโลหะ ฝังหนังเสือ อุดผง รุ่น เสาร์ห้า ๕๖ สร้าง ๑,๐๐๐ ตัว

เสืออาคมเนื้อผงมวลสาร ฝังตะกรุด รุ่น เสาร์ห้า ๕๗ สร้าง ๑,๐๐๐ ตัว

เสืออาคมไม้ขนุน อุดผง รันเลข รุ่น เสาร์ห้า ๕๗ สร้าง ๑,๕๐๐ ตัว

เสืออาคมไม้เสาโบสถ์เก่า อุดผงมวลสาร ฝังตะกรุด ๓ ดอก อุดผง รันเลข รุ่น กฐิน ๕๘ สร้าง ๒,๕๙๑ ตัว

เสืออาคมไม้เสาโบสถ์ อุดผงมวลสาร ขนาด ๒ นิ้ว ฝังตะกรุด อุดผง รันเลข รุ่น กฐิน ๕๘ สร้าง ๑๐๐ ตัว
เสืออาคมไม้เสาโบสถ์รุ่นนี้ เป็นรุ่นสุดท้ายที่หลวงปู่หล่ำได้เสก

หมูทองแดง

หมูทองแดง เป็นวิชาในการลงยันต์ของครูบาอาจารย์ ตามคติที่ว่า หมูทองแดง มีความเหนียวคง แม้แต่เสือเจ้าป่า ยังไม่กล้ายุ่งกับหมูทองแดง หรือแม้แต่นายพรานผู้เก่งกาจ ยังต้องพ่ายให้กับหมูทองแดง โบราณจึงได้นำความพิเศษนี้มาทำเป็นผ้ายันต์บ้าง เป็นยันต์สักบ้าง และเครื่องราง หลวงปู่หล่ำได้สร้างหมูทองแดง แบบเนื้อผงมวลสาร เมื่อปี ๒๕๕๗

หมูทองแดง เนื้อดินเผา ฝังตะกรุด ปี ๒๕๕๗

หมูทองแดง เนื้อผงมวลสาร ฝังตะกรุด ปี ๒๕๕๗ เนื้อผงฝังตะกรุด สร้าง ๕๐๐ ตัว เนื้อผง ไม่ฝังตะกรุด สร้าง ๕๐๐ ตัว
ทางวัดสร้างเฉพาะเนื้อดินเผาและเนื้อผงเท่านั้น โดยพระสงฆ์ในวัดเป็นผู้กดพิมพ์

bottom of page