top of page

Jivaka Komaraphat 博士

按以阅读更多信息。

ผ้ายันต์พรหมวิหาร

ผ้ายันต์พญาราชสีห์ (สิงห์)

ผ้ายันต์ธงชัยสิวลี

ผ้ายันต์ปลาตะเพียน

ผ้ายันต์พระราหู

ผ้ายันต์ท้าวเวสสุวรรณ

เสื้อยันต์หลวงปู่หล่ำ ลงอักขระ สร้าง ๑๐ ตัว

เสื้อยันต์พระมหาวิบูลย์ ลงอักขระ สร้าง ๑๐ ตัว

ปลาตะเพียน

ปลาตะเพียน ตามคติความเชื่อแต่โบราณมักทำด้วยวัสดุหลากหลายชนิด เช่น ผ้า ไม้มงคล ไม้จักสาน โลหะ และหลากหลายขนาดขึ้นอยู่กับครูบาอาจารย์แต่ละท่านที่จะจัดสร้างขึ้น เนื่องจากเป็นเครื่องรางที่ดูผิวเผินแล้วเหมือนกับไม่มีอะไร ไม่มีฤทธิ์ แต่ในความเป็นจริงปลาตะเพียนจะมีฤทธิ์มีเดชแบบค่อยเป็นค่อยไปดังภาษิตที่ว่า “น้ำซึมบ่อทราย” แล้วยังให้อิทธิคุณในเรื่องความร่มเย็นเป็นสุข ช่วยพยุงและเสริมฐานะค่อยเป็นค่อยไปแก่ผู้บูชาด้วย ซึ่งหาได้ยากในหมู่เครื่องรางด้วยกัน บางตำราก็ว่าน่าจะสืบเนื่องมาจากการเสวยพระชาติเป็นปลาตะเพียนเพื่อการสั่งสมบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ บ้างก็ว่าปลาตะเพียนเป็นสัตว์น้ำที่หากินคล่องแคล่ว กินอาหารง่าย ปราดเปรียวว่องไว บ้างก็ว่าเอาคำว่า “เพียน” ซึ่งเป็นคำท้ายนั้นออกเสียงคล้ายกับคำว่า “เพียร” ซึ่งหมายถึงความขยันหมั่นเพียร หลวงปู่หล่ำได้สร้างปลาตะเพียนตามครูบาอาจารย์ของท่าน โดยจะสร้างเป็นผ้ายันต์บ้าง เป็นโลหะบ้าง เป็นดินเผาบ้าง

สีผึ้ง รุ่นต่างๆ

หลวงปู่หล่ำได้สร้างสีผึ้งตั้งแต่สมัยอยู่วัดบางหญ้าแพรก วิชาสีผึ้งนี้ท่านเรียนมาหลายสำนัก แต่ละสำนักก็แตกต่างกันไป หามวลสารทำยากบ้าง ง่ายบ้าง บางสายต้องทำพิธีนิมนต์พระมาร่วมสวด แต่ท่านไม่ได้เป็นรุ่น ทำแจกลูกศิษย์อย่างเดียว เมื่อปี ๒๕๕๓ ได้สร้างขึ้นอย่างเป็นทางการ รุ่น ไหว้ครู ๕๓

สีผึ้ง รุ่น “ไหว้ครู ๕๓” ปี ๒๕๕๓ ตลับเล็ก ตุ๊กแกเดี่ยว สร้าง ๕๐๐ ตลับ ตลับใหญ่ ตุ๊กแกคู่ สร้าง ๕๐๐ ตลับ

สีผึ้งพระราหู (เนื้อดินเผา) ปี ๒๕๕๗

สีผึ้งตุ๊กแก ปี ๒๕๖๑ ตลับเล็ก สร้าง ๒๐๐ ตลับ

สีผึ้งตุ๊กแก, ปลาตะเพียนคู่ ปี ๒๕๖๑ สร้าง ๕๐ ตลับ

สีผึ้งตลับแม่นางตุ๊กตากายสิทธิ์ ปี ๒๕๖๑ สร้าง ๕๐๐ ตลับ

ลูกอมผงมวลสาร

ลูกอม โดยปกติหลวงปู่หล่ำจะนำชานหมากที่ฉันแล้วมาปั้นแล้วตากให้แห้ง นำมาจุ่มรัก ปิดทอง และไม่ปิดทองบ้าง ต่อมาภายหลังสร้างไว้โดย นำผงที่เหลือจากการกดพิมพ์พระ นำมาฝังตะกรุดบ้าง จีวรบ้าง เกศาบ้าง แต่ละเนื้อจะแตกต่างกันไป