top of page

ลำดับครูบาอาจารย์ และศิษย์พุทธาคม

     ศิษย์พุทธาคมในสายหลวงปู่หล่ำนั้นมีไม่มากนัก เนื่องจากท่านจะพิจารณาจนมั่นใจแล้ว จึงจะถ่ายทอดให้ ซึ่งแต่ละท่านนั้น เรียกว่าอยู่กันจนรู้เนื้อแท้แห่งจิตใจกัน ท่านแรกคือพระอาจารย์นา วัดบางปิ้ง ซึ่งท่านเป็นศิษย์หลวงพ่อเผยเหมือนกัน และยังติดตามธุดงค์ พร้อมทั้งเรียนวิชาสักยันต์ เชือกคาดเอว และอีกหลายอย่างกับหลวงปู่หล่ำ จนกระทั้งมาสร้างสำนักสงฆ์คลองบางปิ้ง จนเป็นวัดที่สมบูรณ์ ท่านที่สองคือ พระอาจารย์เปลว วัดแหลม ได้รับการยกย่องจากหลวงปู่หล่ำว่า ท่านเปลวท่านเก่งเรื่องปัดเป่าสิ่งไม่ดี ดูดวง และเรื่องพิธีกรรม ท่านที่สามคือ อาจารย์หลำ ชาวสิงคโปร์ ท่านนี้เป็นตัวแทนปู่ฤๅษีอุทกดาบส จึงเก่งด้วยบารมีพ่อปู่ที่อยู่กับตัวท่านอยู่แล้ว และยังเรียนวิชารักษาคน วิชาเวทย์มนต์ คาถาต่างๆ จากหลวงปู่หล่ำเพิ่มเติม เพื่อนำไปสงเคราะห์ชาวสิงคโปร์แทนหลวงปู่หล่ำ
     เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์ว่า ครูท่านแรง ลูกศิษย์ตายก่อนครู จึงไม่ค่อยมีผู้ใดขอเรียนวิชากับท่าน อีกทั้งยังจะต้องบวชตลอดชีวิต ปัจจุบันศิษย์พุทธาคมของหลวงปู่หล่ำ ที่ยังมีชีวิตอยู่ คือพระอาจารย์มหาวิบูลย์ กิจฺจสาโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสามัคคีธรรม ท่านมาอยู่กับหลวงปู่หล่ำ เมื่อปี 2546 อยู่ช่วยงานมาจนถึงปี 2550 จึงได้ขอเรียนวิชาจากหลวงปู่หล่ำ
     วิชาแรกที่ได้เรียนคือ วิชาทำเชือกคาดเอว ซึ่งถือว่าเป็นวิชาเอกอุ ที่น้อยคนจะได้เรียน หลวงปู่หล่ำ มีลูกศิษย์ ที่เป็นพระด้วยกัน 2 ท่านคือ พระอาจารย์นา วัดบางปิ้ง และพระอาจารย์เปลว วัดแหลม มีเพียงพระอาจารย์นา ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาเชือกคาดเอว เมื่อพระอาจารย์นาทำเชือกคาดได้แล้ว หลวงปู่หล่ำ จึงได้ประกาศวางมือ ประกาศว่า ต่อไปใครอยากได้เชือกคาดเอว ให้ไปที่อาจารย์นา จนมาถึงปี 2546 เมื่อพระอาจารย์นา สิ้นบุญ หลวงปู่หล่ำ จึงได้กลับมาทำอีกครั้ง และทำต่อมาเรื่อยๆ จนถึงปี 2550 ได้ถ่ายทอดวิชาเชือกคาดเอว ให้กับพระมหาวิบูลย์ โดยทำแล้วนำไปให้ท่านปลุกเสก จนถึงราวๆปี 2561 ก่อนหลวงปู่หล่ำสิ้นบุญ และหลังจากนั้นในปีต่อๆมา ก็ยังคงทำเชือกคาดเอว เพื่อสืบวิชาไว้
     การเรียนวิชาเชือกคาดนั้น ที่สำคัญคือการทำใส้ใน โดยการนำผ้าคลุมศพ มาตัดเป็นชิ้น ขนาดความยาว 16 นิ้ว เขียนทั้งสองด้าน ประกอบไปด้วยยันต์ และอักขระต่างๆ ในส่วนปลาย มีแผ่นตะกรุดสองดอก จารยันต์ ในการลงยันต์แต่ละยันต์ และคาถาแต่ละบท จะเขียนและจาร คนวันและเวลา ตามที่ครูบาอาจารย์ท่านได้กำหนดไว้

     เมื่อได้วิชาการทำเชือกคาดเอวแล้ว ต่อมาที่ต้องเรียนเลยคือวิชาเสกเชือก และเสกวัตถุมงคลต่างๆ สายวิชานี้ คาถาที่โดดเด่น ที่จำเป็นจะต้องเรียนคือ คาถามหาปัทหมื่นหลวง ซึ่งเป็นบทชุดเดียวกันกับ ตันน้อย ตันใหญ่ ตันหลวง และตันเหล็กหลวง คาถามหาปัทหมื่นหลวงนี้ ผู้เป็นอาจารย์จะต้องสวดยัดให้ศิษย์ที่เรียนวิชา ในวันไหว้ครู จนครบ 3 ปี เป็นอย่างน้อย
     วิชาที่พระมหาวิบูลย์ ได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่หล่ำนั้น มีหลายอย่าง ที่ท่านได้ให้เรียนวิชาเชือกคาดเอวก่อน ก็เพื่อเป็นการทดสอบว่า จะมีความเพียรพยายามมากน้อยเพียงไร อีกทั้งบทคาถาและอักขระเลขยันต์ต่างๆ ก็รวมอยู่ในนั้น ทั้งยันต์ตรีนิสิงเห ยันต์ปถมัง ยันต์พุท ยันต์นะปิด ยันต์มหาอำนาจ ฯลฯ เมื่อต้องไปเรียนบทอื่นๆ ก็นำไปใช้ได้เลย
     อาบน้ำมนต์ วิชาที่ผู้คนมาให้หลวงปู่หล่ำสงเคราะห์ทั้งชาวไทยและต่างชาติก็คือ วิชาการอาบน้ำมนต์ ขับไล่สิ่งไม่ดีต่างๆ โดยน้ำมนต์ในสายวิชานี้ จะต้องหาน้ำจากสระน้ำ จากวัดที่มีโบถ์ นำมารวมกันให้ได้ 108 วัด เพื่อเป็นส่วนผสมในการทำน้ำมนต์ และจะเช็กอาการด้วยการนั่งไม้กระดานแล้วเขียนหุ่นตรวจอาการ ต่อมาจึงสวดมนต์พร้อมทำน้ำมนต์  แล้วจึงอาบน้ำมนต์ 1 หาบ เป็นเบื้องต้น
     วิชาลงน้ำมัน สักยันต์ น้ำมันที่ใช้ในการลงของสายนี้ จะต้องเอาน้ำมันงาสด ที่ได้ตามตำรา เตรียมไว้ก่อน แล้วจึงหาฤกษ์ ไปปลุกรากยา *โดยจะไม่ใช้หัวว่าน* เมื่อได้รากยามาแล้ว จึงหั่น แล้วตากให้แห้ง หาฤกษ์ปลุกเสกรากยาก่อน แยกกับปลุกเสกน้ำมันงา สุดท้ายนำทั้งรากยา และน้ำมันงา มาปลุกเสกรวมกัน
     สำหรับวิชาการลงน้ำมันสายนี้ การเรียนจะต้องยกครูที่ทางสามแพร่ง หาฤกษ์งามยามดี ประกอบพิธี ฟันหลัง เพื่อต่อวิชา แล้วรักษาข้อปฏิบัติให้ได้ 3 ปี จึงจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ ผู้ที่ได้ลงน้ำมันสำหรับสายนี้ ต้องรักษาข้อห้าม ข้อปฏิบัติให้ได้ การลงจะลงทั้งหมด 9 ครั้ง วิธีการคือจะให้เหล็กจารกรีดไปบนผิวหนัง เป็นตัวอักขระเลขยันต์ ตามตัว 10 กว่าจุด
     วิชาลงทองครอบจักรวาล เป็นอีกวิชาหนึ่ง ที่เด่นทางด้านเมตตา ซึ่งจะได้จะได้รับการถ่ายทอด เป็นลำดับท้ายๆ ก่อนหน้านั้น ท่านยังไม่อยากให้เรียน ด้วยเห็นว่า ยังเป็นพระหนุ่ม ไม่อยากให้ฝักใฝ่ทางด้านนี้มากนัก ภายหลังจึงได้ถ่ายทอดให้เป็นลำดับสุดท้าย
     ตลอดระยะเวลา 16 ปี ที่ได้อยู่กับหลวงปู่หล่ำ ได้เรียนวิชาการทำวัตถุมงคล ทำเครื่องรางของขลัง เท่าที่จำได้ เรียนวิชาทำตะกรุด ลงผ้ายันต์ เขียนผง หุงสีผึ้ง ทำตะกรุด ๙ ดอก ตะกรุดนวหรคุณ 9 ดอก ลงตะกรุด 3 กษัตริย์ ลงตะกรุดพระเจ้า 16 พระองค์ ลงตะกรุดพรหมวิหาร ลงกระหม่อม วิชานะอกแตก ลงเทพลำลึก ลงนะหน้าทอง สาลิกาลิ้นทอง มือรับทรัพย์ ทำตะกรุดใต้น้ำ ลงผ้ายันต์พญาราชสีห์ ลงผ้ายันต์ธงสิวลีใหญ่  วิชาโภคทรัพย์ วิชาสร้างเสือ สร้างหนุมาน หมูทองแดง สร้างแม่นางตุ๊กตากายสิทธิ์ วิชาสร้างตุ๊กแก สร้างจระเข้  สร้างพระราหู วิชาทำน้ำมนต์ วิชาขับไล่เสนียดจัญไร ฯลฯ
     เมื่อสิ้นบุญหลวงปู่หล่ำแล้ว พระมหาวิบูลย์ ได้เจอครูบาจารย์ต่างๆ ที่จะพอมีโอกาส ก็จะขอเรียน มีทั้งที่เป็นพระและฆราวาส     มีอาจารย์ศักดิ์สิทธิ์  รู้ประเสริฐ ,พระอาจารย์สุภาพ  สุภาจาโร ,หลวงพ่อเณร วัดวิหารเก้าห้อง ,พ่อครูกาหลง จนฺทวํโส ฯลฯ

อาจารย์ศักดิ์สิทธิ์ รู้ประเสริฐ *ครูธรรม* ครูน้ำมัน* (หลานอาจารย์พาน นนท์ตา)

ยกครู เรียนลบผงปถมัง พระอาจารย์สุภาพ สุภาจาโร

ยกครู หลวงพ่อเณร วัดวิหารเก้าห้อง

อาบน้ำมนต์ ล้างอาถรรพ์

ลงน้ำมัน (สายวิชาอาจารย์พาน นนท์ตา)

ลงนะหน้าทอง

ลงสาริกาลิ้นทอง

ลงมือรับทรัพย์
*ลงทองครอบจักรวาล นะหน้าทอง สาริกาลิ้นทอง มือรับทรัพย์*

ลงทองกระหม่อม

ครอบมงคล

ยกครู พ่อครูกาหลง จนฺทวํโส สำนักห้าพยัคฆ์, ธรรมบันดาล

ยกครู เข็มทอง ๗ เล่ม, วิชาห้าพยัคฆ์, น้ำมันเสือ, ลงทอง ๙ แผ่น, สีผึ้งกาตอมเห้ว

bottom of page