top of page

Jivaka Komaraphat 博士

按以阅读更多信息。

เชือกคาดเอวและเชือกข้อมือ

Jivaka Komaraphat 博士

按以阅读更多信息。

ภาพนี้ถ่ายหลังจากทำพิธีดำน้ำจารตะกรุด บริเวณเขาชะโงก คลองยายดำ ราวปี ๒๕๓๐–๒๕๓๔  เป็นครั้งหลังๆ ที่ท่านทำ

ราวปี ๒๕๔๘ ลูกศิษย์ได้มาขอให้ท่านทำ ด้วยความเมตตาท่านจึงอนุญาตให้ทำ แต่ด้วยปัญหาสุขภาพจึงได้ตกลงกันที่จะใช้วิธีจารแล้วใส่ตะกรุดลงในอ่างน้ำมนต์ แล้วเสกอีกครั้ง (*ตะกรุดใต้น้ำรุ่นนี้มีเพียงพานนี้เท่านั้น ต่อมาภายหลังมีผู้สร้างมาถวายพร้อมจารและตอกโค๊ตมาด้วยอีกหลายพันดอก พร้อมปั๊มว่า ใต้น้ำ*)

ตะกรุดใต้น้ำ ยุคต่างๆ

ตะกรุดใต้น้ำ ยุคต้น ท่านดำน้ำจาร ในแต่ละครั้งได้จำนวนไม่มาก

ตะกรุดใต้น้ำ (ลูกศิษย์ดำน้ำจาร หลวงปู่หล่ำเสก) ปี ๒๕๕๘ แผ่นเงิน กดโค๊ต ขนาด ๒ นิ้วครึ่ง

ตะกรุดใต้น้ำ (ลูกศิษย์ดำน้ำจาร หลวงปู่หล่ำเสก) ปี ๒๕๕๙ แผ่นเงิน กดโค๊ต ขนาด ๑ นิ้วครึ่ง

ตะกรุดใต้น้ำ (ลูกศิษย์ดำน้ำจาร หลวงปู่หล่ำเสก) ปี ๒๕๖๑ แผ่นทองแดง กดโค๊ต ขนาด ๒ นิ้วครึ่ง

ตะกรุดใต้น้ำ (ลูกศิษย์ดำน้ำจาร หลวงปู่หล่ำเสก) ปี ๒๕๖๑ แผ่น ๓ กษัตริย์ กดโค๊ต ขนาด ๒ นิ้วครึ่ง

ตะกรุด ๓ กษัตริย์

ตะกรุด ๓ กษัตริย์ เป็นวิชาหนึ่งที่มีคุณ ๓ ด้าน คือ เมตตา แคล้วคลาด ป้องกัน โดยแผ่นตะกรุดแต่ละดอกจะลงยันต์แตกต่างกัน หลวงปู่หล่ำสร้างมอบให้ลูกศิษย์หลายครั้ง แต่ไม่เป็นทางการ จนมาถึงปี ๒๕๔๘ ได้สร้างให้สั่งจองเป็นรุ่นแรก

ตะกรุด ๓ กษัตริย์ รุ่นแรก ๒๕๔๘ ดำสร้าง ๔๐๐ ดอก แดงสร้าง ๑๐๐ ดอก

ตะกรุด ๓ กษัตริย์ รุ่นสอง ๒๕๔๙ สร้าง ๓๕๐ ดอก

ตะกรุด ๓ กษัตริย์ (ลูกศิษย์จาร) รุ่นต่างๆ

ตะกรุด หนังเสือ

ตามที่ได้กล่าวไปในเรื่องเสืออาคม ลูกศิษย์หลวงปู่หล่ำ มักจะนำเขี้ยวก็ดี หนังก็อีก มาให้หลวงปู่ลงให้ เด่นในทางมหาอำนาจ ในยุคที่ยังไม่มีกฎห้ามตามวัดต่างๆ ก็จะมีการสร้างเครื่องรางที่เกี่ยวกับเสือให้เห็น จนมายุคหลัง ท่านได้สร้างเป็นเนื้อไม้บ้าง โลหะบ้าง

ตะกรุดหนังเสือ “ฉลองอายุ ๘๑” ปี ๒๕๕๓ สร้าง ๑๐๐ ดอก

ตะกรุดหนังเสือไฟ “เสาร์ห้า ๕๓” ปี ๒๕๕๓ สร้าง ๑๕๐ ดอก

หนังเสือ “เสาร์ห้า ๕๓” ปี ๒๕๕๓ สร้าง ๑๓๐ ชิ้น

ตะกรุดหนังเสือ “เสาร์ห้า ๕๗” ปี ๒๕๕๗ สร้าง ๑๐๐ ดอก

ตะกรุด พญาราชสีห์ “เสาร์ห้า ๕๗” ปี ๒๕๕๗ สร้าง ๑๐๐ ดอก

ตะกรุด รุ่นต่างๆ

หลวงปู่หล่ำได้สร้างเครื่องรางและตะกรุดตามวิชาที่ร่ำเรียนมาหลายอย่าง ตามแต่จะใช้ไปในทางด้านไหน แต่ที่ลูกศิษย์มักให้ทำบ่อยๆคือ แบบเล็กๆ พกพาได้สะดวก เช่น ตะกรุดหันตวา ตะกรุดนะอกแตก ตะกรุดพระเจ้าเปล่งรัศมี ตะกรุดมหานิยม ฯลฯ

นอกจากตะกรุดแล้ว ท่านยังสร้างเครื่องรางไว้ปราบสิ่งไม่ดีต่าง นั่นคือ กระบอง หรือดาบ หรือกระบอง ท้าวเวสสุวรรณ  หลวงปู่หล่ำลงอักขระเลขยันต์ ยุคต้น วัดบางหญ้าแพรก

ตะกรุดลูกปืน แผ่นยันต์ทองแดงด้านใน หลวงปู่หล่ำจาร ปี ๒๕๕๐ สร้าง ๑๕๐

ตะกรุดนะปถมัง กันปืน หลวงปู่หล่ำได้จารเมื่อราวปี ๒๕๕๗

ตะกรุดลูกสะกด ตะกั่วอวน

ตะกรุดนะอกแตก ตอกโค๊ต รันเลข อุดผง

ตะกรุดไผ่ตัน

ตะกรุดพระเจ้าเปล่งรัศมี

ตะกรุดมหานิยม

ตะกรุดอังคาร ๙ เนื้อเงิน

ตะกรุดสาย ๙ ดอก

ตะกรุด พระเจ้า ๑๖ พระองค์

ตะกรุดพระเจ้า ๑๖ พระองค์ แต่ละครูบาอาจารย์แต่ละท่านก็แตกต่างกันไป หลวงปู่หล่ำในยุคแรกๆ ท่านจะทำใส่ผ้าเช็ดหน้าบ้าง จารลงแผ่นทองแดงบ้าง ตะกั่วบ้าง จนมาถึงปี ๒๕๖๑ ต้องการนำเงินไปช่วยสร้างตึกสงฆ์อาพาธ ที่โรงพยาบาลหนองหงส์ ปลุกเสก “ไตรมาส ๖๑” สร้าง ๑๐๙ ดอก

bottom of page