top of page

Jivaka Komaraphat 博士

การสร้างพระเหรียญ/เหรียญพระ มีมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ ผ่านกาลเวลามาถึงยุคสมัยปัจจุบัน ในตำราโบราณมีแต่การสร้าง ตะกรุด ผง ฯลฯ ไม่มีสูตรการสร้างเหรียญพระมาก่อน การปลุกเสกเหรียญพระจึงเป็นวิชาคาถาอาคมยุคใหม่ ที่พระเกจิคณาจารย์ท่านประยุกต์ขึ้น แต่ก็ขลังและมีปาฏิหาริย์ให้เห็น ไม่แพ้วิชาคาถาอาคมโบราณ หลวงปู่หล่ำได้สร้างเหรียญ ในยุคแรกนั้น ท่านได้นำตะกั่วมาตี อัดบล็อก ให้ขึ้นรูป เสร็จแล้วนำมาจารยันต์ เป็นการทำในพิธีที่ท่านตั้งใจทำ และมีจำนวนไม่มาก (ยุคแรกที่ท่านทำด้านหลังเหรียญ สังเกตุจะไม่มีรอยเส้นที่เกิดจากการขัด) ต่อมาภายหลัง ได้มีลูกศิษย์ได้มาขอทำอีก จึงเป็นยุคหลังจากพิธีนั้น และอีกหลายครั้ง โดยใช้เป็นเนื้อตะกั่วเหมือนเดิม และได้หาแผ่นโลหะมาวางไว้ด้านบน เช่น แผ่นทอง แผ่นเงิน แผ่นนาค มักจะเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่า เหรียญตะกั่ว หน้าทอง หน้าเงิน หน้านาค แม้มาอยู่วัดสามัคคีธรรมแล้ว ก็ยังมีลูกศิษย์ทำมาให้จาร จนท่านต้องสั่งไม่ให้ทำมาอีก จุดสังเกตุเหรียญรุ่นนี้ อันดับแรกเน้นที่มีรอยจาร บางเหรียญไม่ใช่หลวงปู่หล่ำจาร *เมื่อประมาณปี ๕๐ ได้มีคนนำมาให้ท่านจาร เป็นเหรียญทองแดง พร้อมห่วง ท่านจึงเตือนว่า รุ่นนี้มีการปลอมออกมาแล้ว

เหรียญตะกั่วหน้าทอง จารหน้า จารหลัง ยุคต้น ราวปี ๒๕๐๐

เหรียญระฆัง เนื้อเงิน จารยันต์ และเงิน (จารพิเศษ) สร้าง ๑๖ เหรียญ
เหรียญระฆัง สร้างเมื่อปี ๒๕๑๓ (ตามที่หลวงปู่หล่ำ ได้บันทึกด้วยลายมือของท่าน มีแค่เนื้อทองแดงรมดำ กับเนื้อเงินและเนื้อเงินจารพิเศษเท่านั้น)
ทองแดงรมดำจาร สร้าง ๕,๐๐๐ กว่าเหรียญ รมดำบางเหรียญไม่มีรอยจาร อันเนื่องจากในยุคนั้น ท่านจะจารทีละถุง แล้วจะมอบให้สายบุญนำไปแจกเพื่อร่วมบุญ บางถุงอาจหลงสลับกัน ทำให้ไม่ได้จาร (อัลปาก้าบางเหรียญ ที่มีรอยจาร จะจารคนละอย่างกับที่ได้บันทึกไว้ เป็นลักษณะจารในยุคหลัง)

เหรียญโบว์หรือเหรียญช่อชัยพฤษ์ ปี ๒๕๑๖ เนื้อโลหะรมดำ อัลปาก้า บางเหรียญด้านหลังมีคำว่า เสาร์ ๕ ปี ๑๖ บางเหรียญ หลังเลข ๑
เนื้อทองแดงรมดำ อัลปาก้า และยังมีเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง กะไหล่เงิน กะไหล่นาค และเนื้อเงินจำนวนหนึ่ง พบเห็นได้น้อย

เหรียญพระนารายณ์ หรือมักเรียกกันว่าเหรียญพระพรหม เพราะหลวงปู่หล่ำท่านมีชื่อเสียงในเรื่องพระพรหม แต่ครั้งนี้ท่านต้องการสร้างพระนารายณ์ (พระนารายณ์ปราบมาร) ลูกศิษย์สิงคโปร์เมื่อดูโดยลักษณะ มักเรียกกันว่า เหรียญพระพรหม ราวปี ๒๕๑๘

เหรียญพระอุปคุตหรือพระบัวเข็ม สร้างปี ๒๕๑๙

เหรียญเจ้าแม่กวนอิมเขียว หลังพระพรหมนี้ สร้างในสมัย เริ่มสร้างวัดเขาสะบกจันทบุรี ลูกศิษย์ชาวสิงคโปร์ สร้างถวาย เมื่อปี ๒๕๒๐

เหรียญงูหลังราหู เนื้อทองแดงรมดำ สร้างปี ๒๕๒๒

เหรียญพระครูสังฆรักษ์ หลังราหู สร้างปี ๒๕๒๒

เหรียญเจ้าฟ้าปราสาททอง สร้างเมื่อปี ๒๕๒๒

เหรียญเจ้าแม่กวนอิมเขียว ลูกศิษย์ชาวสิงคโปร์สร้างถวายเมื่อปี ๒๕๓๗ จำนวน ๒,๔๗๙ เหรียญ

เหรียญพระประธานในโบสถ์ หรือ เหรียญพระพุทธวุฒิโฑ

เหรียญผูกพัทธสีมา เนื่องในงานปิดทองฝังลูกนิมิต ปี ๒๕๓๐ สร้าง ๑๐,๐๐๐ เหรียญ

เหรียญบูชาครู เนื้อทองแดงรมดำ จารยันต์ สร้างปี ๒๕๔๑

เหรียญหลังหนุมาน สร้างในปี ๒๕๔๒ ได้ฤกษ์ตามตำรา คือวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปี ขาล ๑๒ ปี จึงจะได้ฤกษ์ซักครั้ง สร้างจำนวน ๑๐,๐๐๐ เหรียญ และทุกเหรียญท่านได้จารทุกเหรียญ ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีสองแบบ คือลักษณะเหินหาว กับยกทัพ

เหรียญ ๖ รอบ สร้างในวาระหลวงปู่หล่ำ ครบ ๖ รอบ อายุ ๗๒ โดยสร้างเป็นเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะ เนื้อตะกั่ว เนื้อทองแดง หลวงปู่หล่ำจารยันต์ทุกเหรียญ เนื้อทองคำสร้างราว ๗๓ เหรียญ เนื้อเงินสร้าง ๕๘๐ เหรียญ เนื้อนวะ เนื้อตะกั่ว และเนื้อทองแดง (ทองแดงสร้าง ๕,๐๐๐ เหรียญ)

เหรียญหลังตุ๊กแก แจกงานกฐิน ปี๒๕๔๗

เหรียญ ๗ รอบ หลวงปู่หล่ำ อายุ ๘๔ ปี ๒๕๕๖ สร้างสองบล็อก คือเนื้อทองเหลือง สร้าง ๑,๐๐๐ องค์ เนื้อทองแดง สร้าง ๑,๑๐๐ องค์

พระปรกมะขาม สร้างแจกในงานวันเกิดของหลวงปู่หล่ำ ฉลองอายุ ๘๕ ปี เนื้อทองแดง สร้าง ๑,๐๐๐ องค์ เนื้อเงิน สร้าง ๒๐ องค์ เนื้อตะกั่ว สร้าง ๒๐๐ องค์

เหรียญแปดเหลี่ยม เนื้อเงิน สร้าง ๘๙ เหรียญ เนื้อนวะ สร้าง ๕๐ เหรียญ เนื้อชนวน สร้าง ๑๐๐ เหรียญ เนื้อกะไหล่ทอง สร้าง ๑๐๐ เหรียญ
เนื้อกะไหล่เงิน สร้าง ๑๐๐ เหรียญ เนื้อทองแดงมันปู, ทองแดงผิวไฟ สร้างอย่างละ ๕,๐๐๐ เหรียญ
- เหรียญแปดเหลี่ยม พญาราชสีห์ เมตตามหาบารมี เป็นเหรียญที่ครบเครื่อง คือได้นำสิ่งที่เป็นวิชาที่ท่านได้ร่ำเรียนมาทั้งสิ้น ด้านหน้า - ด้านบน เป็นพระราหู ขอบเหรียญ เป็นเชือกคาดเอว คาถามหาเมตตา ตุ๊กแกซ้ายขวา ยันต์ประทับซ้ายประทับขวา ด้านหลังเป็นยันต์พญาไกรสรราชสีห์
- เป็นเหรียญรุ่นสุดท้ายที่หลวงปู่หล่ำ ได้ทำพิธีปลุกเสกเดี่ยว เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ในพิธีนี้ยังมีวัตถุมงคลอีกหลายอย่าง ที่ได้นำเข้าพิธีในครั้งนี้
เนื้อเงิน สร้าง ๘๙ เหรียญ เนื้อนวะ สร้าง ๕๐ เหรียญ เนื้อชนวน สร้าง ๑๐๐ เหรียญ เนื้อกะไหล่ทอง สร้าง ๑๐๐ เหรียญ เนื้อกะไหล่เงิน สร้าง ๑๐๐ เหรียญ เนื้อทองแดงมันปู สร้าง ๕,๐๐๐ เหรียญ เนื้อทองแดงผิวไฟ สร้าง ๕,๐๐๐ เหรียญ เนื้อทองแดงมันปู ไม่ตัดขอบ สร้าง ๑๐๐ เหรียญ เนื้อทองแดงผิวไฟ ไม่ตัดขอบ  สร้าง ๑๐๐ เหรียญ *เหรียญบางส่วนภายหลังนำมาลงยา และใส่กรอบ

bottom of page